วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

นกกรงหัวจุกด่าง

นกกรงหัวจุกด่าง(นกด่าง)




วงการนกหัวจุกถือเป็นวงการสัตว์เลี้ยงที่มีเอกลักษณ์และความนิยมที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้นกหัวจุกตามธรรมชาติถูกจับไปเลี้ยงโดยไม่ถูกคำนึงถึงว่านกหัวจุก อาจจะสูญพันธุ์ไปหมดจากป่าของประเทศไทยได้ ในอนาคตลูกหลานของเราอาจจะพบนกหัวจุกอยู่ตามธรรมชาติได้อย่างยากเย็น วงการนกหัวจุกยังมีอีกหลายด้านที่หลายคนยังไม่ค้นพบว่าน่าทดลองและพัฒนา เนื่องจากนกหัวจุกเป็นนกที่เลียนเสียงได้ มีความเป็นนักสู้ และสามารถเพาะพันธุ์เป็นสัตว์เลี้ยงราคาแพงที่ครอบครัวไหนก็สามารถเพาะได้ โดยไม่ต้องอาศัยสายเลือดของนกเป็นสำคัญอย่างวงการนกเขาชวาเสียง  นกหัวจุกชั้นดี มีใจสู้ สีสันสวยงาม ราคาแพงลิ่ว อาจเกิดขึ้นในครอบครัวไหน กรงเพาะไหนก็ได้ แต่ต้องอาศัยหลักพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวบ้าง โชคดีแบบนี้ สมารถกำหนดขึ้นโดยหลักการง่ายๆ
หลายคนอาจจะถกเถียงกันว่า นกหัวจุกถ้าเติบโตตามธรรมชาติจะแข็งแรงและใจสู้กว่านกเพาะ แนวคิดเช่นนี้มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่จากที่นกเขาดอทคอมได้ศึกษาพันธุกรรมมา ยีนที่ควบคุมความแข็งแรงและใจสู้ จะเพิ่มหรือสืบทอดได้เด่นชัดขึ้นเมื่อผสมข้ามสายหรือผสมกับนกที่ใจสู้ด้วยกัน และจะมีความแข็งแรงมากขึ้นหากพ่อแม่ถูกเลี้ยงมาอย่างดี ให้อาหารอย่างดี มีโครงสร้างใหญ่ น่าเกรงขาม ซึ่งก็เหมือนกับการเพาะเลี้ยงไก่ชน ที่บรรพบุรุษของไก่ชนก็คือไก่ป่าที่มีตัวเล็ก ปราดเปรียว คนโบราณนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง พัฒนาต่อๆกันมาจนเป็นสายเลือดที่ห่างจากไก่ป่า เป็นไก่ชนที่มีความอดทน โครงสร้างเหมาะกับการต่อสู้
นกหัวจุกถือเป็นนกที่มีคุณสมบัติที่พัฒนาได้ง่ายกว่าไก่ชนและนกเขาชวาเสียง โดยนกหัวจุกไม่ต้องคำนึงถึงเหล่าหรือสายเลือดมากเท่าไหร่นัก จะสร้างสายเลือดเองจากนกไหนก็ได้ที่มีโครงสร้างดี อดทน และนกเหล่านี้ไม่ได้มีราคาแพงจนเอื้อมไม่ถึง แค่หมั่นเสาะหาก็ได้นกดีมาเพาะพันธุ์ นกพ่อแม่พันธุ์อาจจะเป็นนกใต้ที่เดี๋ยวนี้หายากขึ้นทุกวัน  เมื่อได้ลูกมาแล้วก็นำมาเลียนเสียงเพลงจากนกครู  สร้างนกแข่งรุ่นใหม่ หรือหากอยากจะสร้างเอกลักษณ์และท้าทายมากกว่านั้น ต้องเป็นนกหัวจุกแฟนซี มีเสียงใหญ่ ไพเราะ โครงสร้างใหญ่ น่าเกรงขาม สั่งให้ร้องได้ และนั่น คงเป็นนกในอุดมคติ ที่ทุกคนสามารถเพาะขึ้นมาเองได้ โดยอาศัยภูมิปัญญาของไทยทำให้เกิดขึ้น
หลักพันธุกรรมที่นกเขาดอทคอมได้เขียนขึ้นนี้ เกิดขึ้นจากการสังเกตจากพันธุกรรมนกหลายชนิด ซึ่งพันธุกรรมนกแฟนซีที่เกิดขึ้นมีบางส่วนที่คล้ายกันและอิงกฏของยีนเด่นและยีนด้อยเหมือนกัน ตามรายละเอียดที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นแค่สมมติฐานเท่านั้น ท่านอาจจะทดลองเพาะและหาข้อสรุปด้วยตัวท่านเองเพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการต่อไป


นกด่างเกิดจากระบบของร่างกายนกตัวนั้นไม่ได้ผลิตเม็ดสีหรือมีการผลิตเม็ดสีบกพร่องในบางส่วนของร่างกาย จึงทำให้ขนบางส่วนมีเม็ดสีน้อยหรือขาดเม็ดสีและแสดงลักษณะของขนไล่ตั้งแต่ขนสีขาวหรือสีอ่อนจนถึงสีเข้ม นกหัวจุกที่เป็นนกด่างถือกำเนิดมาจากนกป่าโดยเป็นนกปรกติผสมพันธุ์กันและเกิดเป็นนกด่างโดยธรรมชาติโดยบังเอิญ เรียกว่าการกลายพันธุ์ ผู้เลี้ยงจึงเห็นเป็นนกแปลกและสวยงามจึงได้นำมาขยายพันธุ์ นกหัวจุกด่างมีหลายประเภทนับตั้งแต่ นกด่างแค่ส่วนหัว หรือบางนกอาจจะด่างทั้งตัว แต่การเพาะนกจำพวกนี้ต้องดูลักษณะที่เหมือนกันมาเข้าคู่กัน เช่น ไม่ควรนำเอานกด่างแค่ส่วนหัว นำไปเพาะกับนกด่างที่มีขนด่างทั้งตัว เพราะคาดว่าการเข้าคู่แบบนี้ เป็นการเข้าคู่ที่พ่อแม่ด่างต่างกัน รุ่นลูกที่เกิดมา ภายนอกอาจจะเป็นนกสีปรกติโดยทั้งหมด แต่แฝงยีนด่างซึ่งกว่าจะเพาะเป็นนกด่างอีกครั้งต้องเสียเวลานำรุ่นลูกมาผสมกันอีก เพื่อหวังนกด่างในรุ่นหลานนั่นก็ทำให้เสียเวลาเปล่า


ส่วนนกด่างหัวอินทรีย์ คาดว่าไม่เป็นประเภทเดียวกับนกด่าง เพราะการเกิดขนสีขาวเป็นบริเวณต่างกันกับนกด่าง ควรนำนกด่างที่มีลักษณะเหมือนกันมาเข้าคู่กันเท่านั้น แต่นกด่างหัวอินทรีย์จะเป็นยีนเด่นหรือด้อยนั้น ยังไม่มีผู้ค้นพบ

ด่างที่เป็นยีนเด่น และด่างที่เป็นยีนด้อย
ความด่างในนกหัวจุกอาจจะต่างจากความด่างในนกเขาใหญ่และนกเขาชวา ในนกเขาส่วนมากจะเป็นยีนเด่น แต่นกหัวจุกเท่าที่ได้ยินมามักจะเพาะไม่ค่อยได้ลูกด่างกัน อาจจะเป็นเพราะว่ายีนด่างในนกหัวจุกเป็นยีนด้อย หรือการเข้าคู่นกหัวจุกนั้น นำเอานกด่างต่างประเภทมาเข้าคู่กัน จึงไม่ปรากฏลูกนกด่างออกมาเลย ทั้งนี้คุณๆสามารถลองเพาะนกหัวจุกด่างได้ เพื่อหาข้อสรุปว่าความด่างในนกหัวจุกเป็นยีนเด่นหรือด้อย โดยยีนทั้งสองชนิดมีการแสดงออกต่างกันดังนี้

นกด่างที่เป็นยีนเด่น จะแสดงลักษณะข่มต่อนกสีอื่นๆได้ เมื่อเพาะออกมาจะมีสัดส่วนลูกที่ต้องการตามตาราง
การเข้าคู่โอกาสที่จะได้
นกด่างที่เป็นยีนเด่น + นกสีอื่นนกด่างที่เป็นยีนเด่น 50%นกสีอื่น 50%
นกด่างที่เป็นยีนเด่น + นกด่างที่เป็นยีนเด่นนกด่างที่เป็นยีนเด่นทุกตัว

นกด่างที่มียีนเป็นยีนด้อย เป็นนกด่างที่ไม่สามารถแสดงออกทางสีขนภายในรุ่นลูกเมื่อผสมกับนกสีปรกติ นกด่างประเภทนี้คือนกที่มีความด่างเป็นจุดน้อยๆ และรวมไปถึง นกด่างโอวัลติน ยีนประเภทนี้จะถูกข่ม จะไม่สามารถให้ลูกที่เป็นด่างได้เลยเมื่อผสมกับนกปรกติ แต่ลูกที่ได้นั้นจะมียีนแฝงเป็นด่างและจะให้รุ่นหลานเป็นด่างได้เมื่อนำมาผสมกันอีกครั้ง

การเข้าคู่นกด่างที่เป็นยีนด้อย
การเข้าคู่โอกาสที่จะได้
นกด่างยีนด้อย + นกสีอื่นนกสีอื่นแฝงด้วยยีนด่าง 100%
นกสีอื่นแฝงยีนด่าง + นกสีอื่นแฝงยีนด่างนกสีอื่น 25%นกสีอื่นแฝงยีนด่าง 50%
นกด่างที่เป็นยีนด้อย 25%
นกด่างที่เป็นยีนด้อย + นกด่างที่เป็นยีนด้อยนกด่างที่เป็นยีนด้อย 100%
จะเห็นได้ว่า ยีนด่างอาจเป็นได้ทั้งเด่นและด้อย ขึ้นอยู่กับนกด่างชนิดนั้นจะมาจากพื้นที่ใด การนำนกมาเข้าคู่ต้องดูลักษณะด่างด้วยว่าด่างคล้ายกันหรือไม่ ถ้าเข้าคู่นกที่มีความด่างต่างกัน ลูกที่ได้อาจจะเป็นนกสีธรรมดา ไม่มีความด่างปรากฏขึ้นเลยก็ได้

ที่มาจาก https://youtu.be/UUeba2dX1vg

นกเผือก  ( albino )  
นกหัวจุกเผือกมีความสวยงามเป็นอันดับต้นๆ จึงมีราคาแพง หายาก และเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอันมาก นกเผือกเป็นนกที่มีการบกพร่องของสร้างของเม็ดสีในตัว ทำให้ขนที่ออกมาเป็นสีขาวเนื่องจากไม่มีเม็ดสีเป็นตัวกำหนดสีขนแต่ที่แปลกคือตรงแก้มของนกเผือกยังมีสีแดงเหมือนกับนกหัวจุกโดยทั่วไป และส่วนอื่นเช่นมีเล็บสีขาว เท้าสีชมพู ปากสีชมพู ตาจะมีสีแดงเนื่องจากขาดเม็ดสีในนัยน์ตา และเนื้อเยื่อข้างในที่เลือดไปหล่อเลี้ยงแสดงออกมาทำให้ตานกเป็นสีแดง นกเผือกจะไม่ทนต่อแสงแดด เนื่องจากแสงอุลตราไวโอเล็ตจะไปทำลายเนื้อเยื่อในนัยน์ตาเนื่องจากไม่มีเม็ดสีและส่วนประกอบป้องกันอยู่ จึงไม่ควรนำนกไปตากแดดจัด เพราะอาจทำให้นกตาบอดได้ และนกเผือกจะมีความต้านทานต่อโรคต่ำ จึงควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ ควรระวังในกรณีการนำเอานกเผือกทั้งตัวผู้และนกเผือกตัวเมียมาผสมกัน เนื่องจากนกเผือกที่ได้ในรุ่นลูกส่วนใหญ่จะมีความอ่อนแอเนื่องจากได้รับยีนด้อยจากทั้งพ่อและแม่รวมกัน ทำให้ลูกนกเผือกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นนกเผือกทั้งคู่ จะมีความต้านทานโรคต่ำ หรือตายตั้งแต่อยู่ในไข่ 
ยีนเผือกถือว่าเป็นยีนด้อย(recessive)ที่จะไม่ปรากฏให้เห็นเป็นนกเผือก เมื่อผสมกับนกสีปรกติ ยีนเผือกจะแสดงออกมาเมื่อนกได้รับยีนเผือกจากทั้งพ่อและแม่เท่านั้น
การเข้าคู่นกเผือก

การเข้าคู่โอกาสที่จะได้
นกเผือก + นกเผือก  นกเผือกทุกตัว
นกเผือก + นกสีปรกติ นกสีปรกติแฝงยีนเผือกทุกตัว
นกสีปรกติแฝงยีนเผือก + นกเผือก– 50%นกเผือก– 50%นกสีปรกติแฝงยีนเผือก
นกสีปรกติแฝงยีนเผือก + นกสีปรกติแฝงยีนเผือก–  25%นกเผือก–  50%นกสีปรกติแฝงยีนเผือก
–  25%นกสีปรกติ
นกสีปรกติแฝงยีนเผือก + นกสีปรกติ–  50%นกสีปรกติแฝงยีนเผือก
–  50% นกสีปรกติ


ที่มาโดย https://youtu.be/BPRgxzUXeh0

 นกสีโอวันติน (Fawn)

ที่มาจาก https://youtu.be/en82oFdv6g4

นกสีโอวัลตินเป็นนกที่สวยงามอีกเช่นกัน จากส่วนของร่างกายจากนกปรกติที่เป็นขนสีดำ จะกลายเป็นสีน้ำตาล ส่วนที่เป็นสีน้ำตาลในนกปรกติ จะเป็นสีน้ำตาลอ่อนออกสีนวลๆ นกสีโอวัลตินจะมีตาสีแดงคล้ำ นกสีโอวัลตินยังจะมีเม็ดสีอยู่บ้าง แต่จางกว่านกสีปรกติ แต่ยังมากกว่านกเผือก การเพาะนกสีโอวัลตินถือเป็นการสืบพันธุ์ที่เข้าข่ายกฏของยีนที่ส่งผ่านยีนสีโอวัลตินโดยอาศัยโครโมโซมเพศเป็นสื่อ


กฎของsex-linked sex-linked ยีน เป็นยีนที่อยู่ในโครโมโซมเพศ หรือโครโมโซมที่แทนด้วยสัญลักษณ์ Z นกเขาตัวผู้จะมีโครโมโซมสองตัวจับอยู่เป็นคู่ ส่วนนกเขาตัวเมียมีโครโมโซมZตัวเดียว บวกกับสัญลักษณ์ W ที่ไม่มีโครโมโซมเพศอยู่  ตัวอย่าง เมื่อนำนกสีโอวัลตินตัวผู้ผสมกับนกตัวเมียสีปรกติ จะให้ลูกตัวผู้เป็นนกสีปรกติแต่มียีนสีโอวัลตินแฝงอยู่ ส่วนลูกตัวเมียที่ได้ จะเป็นนกสีโอวัลติน แต่ถ้านำนกสีโอวัลตินตัวเมียมาผสมกับนกสีปรกติตัวผู้ จะไม่สามารถให้ลูกที่เป็นนกสีโอวัลตินได้เลย เพราะนกตัวเมียจะมีโครโมโซมWเป็นตัวกำหนดอยู่ ลูกนกตัวเมียที่ได้จะเป็นนกปรกติแท้ และลูกนกตัวผู้ที่ได้จะเป็นนกสีปรกติที่มียีนสีโอวัลตินแฝงอยู่ ซึ่งจะให้รุ่นหลานเป็นนกสีโอวัลตินได้เมื่อผสมกันอีกทอดหนึ่ง
Sex-linked ยีนในนกจะช่วยบอกเพศของนกที่จะออกมา โดยอ้างอิงหลักตามกฏข้างต้น เช่น อยากให้ลูกที่เกิดมาเป็นตัวเมียสีโอวัลติน ควรจะใช้พ่อนกและแม่นกสีอะไร ผลที่ได้ก็จะเป็นดังตาราง
การเข้าคู่นกสีโอวัลติน

การเข้าคู่โอกาสที่จะได้
นกสีโอวัลติน + นกสีสีโอวัลตินนกสีโอวัลติน ทุกตัว
นกสีโอวัลตินตัวผู้ +นกสีปรกติตัวเมีย– นกสีปรกติแฝงยีนสีโอวัลติน ตัวผู้– นกสีโอวัลติน ตัวเมีย
นกสีปรกติแฝงยีนสีโอวัลติน ตัวผู้ +นกสีโอวัลติน ตัวเมีย– นกสีโอวัลติน ตัวผู้– นกสีปรกติแฝงยีนสีโอวัลติน ตัวผู้
– นกสีโอวัลติน ตัวเมีย
– นกสีปรกติตัวเมีย
นกสีปรกติตัวผู้ +นกสีโอวัลติน ตัวเมีย– นกสีปรกติแฝงยีนสีโอวัลติน ตัวผู้– นกสีปรกติตัวเมีย
นกสีปรกติแฝงยีนสีโอวัลติน ตัวผู้ +นกสีปรกติตัวเมีย– นกสีปรกติตัวผู้– นกสีปรกติแฝงยีนสีโอวัลติน ตัวผู้
– นกสีโอวัลติน ตัวเมีย
– นกสีปรกติตัวเมีย

นกสีโอวัลตินจะมีระดับความเข้มของสีไล่ตั้งแต่อ่อนจนไปถึงแก่ บางนกก็เป็นสีโอวัลตินเข้ม บางนกก็เป็นสีโอวัลตินจางๆ ซึ่งความอ่อนแก่ของสีจะแสดงระดับความมากน้อยในการสร้างเม็ดสีของนก ซึ่งแสดงออกมาในขนนกที่มีลักษณะเป็นสีโอวัลตินเป็นกรณีคล้ายกันกับนกเขาสีหม้อใหม่
หมายเหตุ  : โอกาสที่จะได้กับผลเป็นเปอร์เซ็นต์ หมายความว่า ลูกที่เกิดจากพ่อแม่นั้นๆ มีโอกาสเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากน้อยเท่าไร เช่น นกครอกหนึ่งที่เกิดมามีสี่ตัว โอกาสเป็นนกสีแปลกเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่า ในลูกนกสี่ตัว มีโอกาสเป็นนกแฟนซีได้ 1 ตัว หรือ นกครอกหนึ่งมี2ตัว โอกาสได้นกสีแปลก 50 เปอร์เซ็นต์ ครึ่งหนึ่งของลูกนกอาจเป็นนกสีแปลก และอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือหนึ่งตัว เป็นนกสีธรรมดา ส่วนนกครอกที่มีสามตัว กับเปอร์เซ็นต์นกสีแปลก 50เปอร์เซ็นต์ สัดส่วนที่เกิดก็จะเกิดขึ้นสองในสาม หรือหนึ่งในสาม ก็เป็นได้ 
วงการนกหัวจุกและวงการนกเขาชวา ถือเป็นวงการสัตว์เลี้ยงที่เกิดขึ้นคู่กับสังคมไทยและจะพัฒนาต่อไปในแนวทางที่ดีขึ้น จากเป็นนกที่เคยอยู่ในบัญชีสัตว์คุ้มครอง เป็นนกที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง มีคุณสมบัติเหนือกว่านกป่า และเป็นที่นิยม ส่วนอนาคตจะเป็นไปในแนวทางใด ตัวของท่านเองเท่านั้น ที่เป็นผู้กำหนด  
ช่วยกันอนุรักษ์นกหัวจุกให้อยู่ตามธรรมชาติ โดยการไม่ซื้อนกป่า หันมาเพาะพันธุ์กันเอง
งานเขียนนี้ท่านสามารถนำไปใช้ส่วนตัว หรือไปเป็นเนื้อหาของเวบหรือสื่อใดก็ได้
*****ไม่สงวนลิขสิทธิ์*****
อ้างอิงที่มาของเนื้อหาจาก https://teerasak123.wordpress.com/



วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

หมูแคระ‬

หมูแคระ


ไม่ใช่เฉพาะ สุนัข แมว กระต่าย ฯลฯ เท่านั้นที่เป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมได้ ตอนนี้มีน้องใหม่ที่กำลังมาแรงและเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในบ้านเราอย่างเจ้า “หมูแคระ” ที่ใครๆต่างก็หลงรัก เพราะความตัวอ้วนกลมและน่ารักของมัน มาดูกันดีกว่าว่าเค้ากลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงได้ยังไงกันนะ


 ประวัติความเป็นมาของเจ้าหมูจิ๋ว
เริ่มมาจากเคยเป็นหมูที่ใช้ในการทดลองหรือการวิจัยต่างๆมาก่อน เนื่องจากมีขนาดที่เล็กกว่าหมูเนื้อตามฟาร์มมาก การใช้หมูแคระทดลองจึงสะดวกกว่า หมูที่นิยมนำไปใช้คือหมู “พ็อตเบลลี” จากเวียดนามนั่นเอง แต่เนื่องจากเจ้าพ็อตเบลลีมีลวดลายและสีสันที่สะดุดตา จึงถูกซื้อไปเป็นสัตว์เลี้ยง จนเริ่มเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในปี 1980 แต่เจ้าหมูพวกนี้ก็ยังมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะเลี้ยงตามบ้านหลังเล็กๆหรืออพาร์ทเม้นท์ได้ จึงมีการพัฒนาสายพันธุ์มาเรื่อยๆ จนได้หมูไซส์ teacup จากอังกฤษ ในปี 2007 และเริ่มมีกระแสนิยมมากขึ้นในปี 2009 เนื่องจากเซเลปคนดังอย่าง ปารีส ฮิลตัน ได้รับเจ้าหมูจิ๋วทีคัพมาเป็นสัตว์เลี้ยงของเธอนั่นเอง


ลักษณะทั่วไป
หมูพ็อตเบลลีของเวียดนามนั้น เป็นพันธุ์พื้นเมืองแท้ๆ น้ำหนักจะอยู่ประมาณ 30-60 กก. สูง 15 นิ้ว และยาวประมาณ 3 ฟุต (ก็ไม่แคระนะ) แต่ที่ฝรั่งมองว่าเป็นหมูแคระเนื่องจากหมูบ้านเค้าโตเต็มวัยหนักได้ถึง 270-680 กก. เมื่อเทียบกันแล้วเจ้าพ็อตเบลลีเลยกลายเป็นหมูแคระ (miniture) ไปเลย ส่วนเจ้าทีคัพ จะมีขนาดเล็กกว่าและสีสันลายจุดหลากหลายกว่า miniture pig แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหมูพวกนี้จะไม่ใหญ่เสมอไปนะคะ บางทีตอนเด็กๆตัวเล็กนิดเดียว ถ้าหลุดไซส์อาจโตขึ้นเรื่อยๆจนหนักถึงร้อยกิโลกรัมได้
ลักษณะนิสัยและการดูแล
หมูขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ฉลาดเป็นอันดับ 4 รองจาก คน, ลิง และโลมา รู้จักการทำความสะอาดตัวเอง สามารถฝึกให้ขับถ่ายเป็นที่เป็นทางได้ ถ้าเลี้ยงให้ใกล้ชิดคนตั้งแต่เล็กๆจะมีนิสัยขี้อ้อนด้วย สามารถอยู่กับคนได้ไม่ต่างจากสุนัขหรือแมวเลย การเลี้ยงดูก็ต้องมีพื้นที่หรือสนามหญ้าไว้ให้เค้าวิ่งเล่น มีเวลาให้เค้านิดหน่อยก็โอเคแล้ว อาหารการกินก็ไม่ยากขึ้นชื่อว่าเป็นหมูแล้วผัก,ผลไม้ อะไรก็กินได้ทั้งนั้นจ้า (แต่คุมปริมาณนิดนึง)
“ในบ้านเราตอนนี้ที่มีทั่วไปคือ miniture pig หรือหมูเวียดนามนั่นเอง ราคาทั่วไปตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 10,000-30,000 บาท แต่ถ้าอยากได้ทีคัพจิ๋วๆจากเมืองนอกแล้วละก็ ราคาคุยกันอยู่ที่หลักแสนขึ้นไปเลยทีเดียว”
รูปภาพโดย Mark Clifford
เห็นเจ้าหมูน้อยหน้าตาน่ารักน่าเลี้ยงขนาดนี้แถมยังยังฉลาดอีก อยากเลี้ยงขึ้นมาเลยใช่ไหม ถ้าคิดจะซื้อแล้วละก็อย่าลืมดูพ่อแม่เค้าด้วย เพราะบางที่มีการผสมกับหมูใหญ่ๆ หรือนำลูกของหมูพันธุ์ใหญ่ เช่น หมูจินหัว มาหลอกขาย แต่ถึงจะมาจากพ่อแม่พันธุ์ที่แคระจริงๆก็อาจเกิดการหลุดไซส์ได้เป็นบางตัว ถึงเวลานั้นอย่าลืมคิดเผื่อไว้ ว่าเราจะสามารถดูแลเค้าในระยะยาวได้ไหม เพราะเจ้าหมูน้อยสามารถอยู่กับเราได้นานถึง 18 ปีเลยทีเดียว



วิดิโอเกี่ยวกับ หมูแคระ

ที่มาจาก https://youtu.be/g3ONoLmyz9A

อะราไพม่า สุดยอดปลาช่อนยักษ์ ลุ่มน้ำอเมซอน

อะราไพม่า สุดยอดปลาช่อนยักษ์ ลุ่มน้ำอเมซอน


 ข้อมูลเฉพาะตัว
   ชื่อ      : ปลาอะราไพม่า (Giant Arapaima or pirarucu หรือพิรารูคู)
   ชื่อวิทยาศาสตร์    : Arapaima gigas (Cuvier,1829)
   วงศ์      : Osteoglossidae
   ถิ่นกำเนิด      : ทวีปอเมริกาใต้แถบลุ่มน้ำอะเมซอน แม่น้ำโอริโนโค ประเทศบราซิล เปรูและโคลัมเบีย

      ปลาอะราไพม่า (Giant Arapaima or pirarucu) หรือ พิรารูคู Pirarucu (ชื่อพื้นเมืองของชาวบราซิล) และ PAICHE (ชื่อพื้นเมืองของชาวเปรู) ส่วนคนไทยรู้จักกันในนาม “ปลาช่อนอเมซอน” จัดเป็นปลาที่อยู่ในครอบครัวเดียวกับปลาตะพัดหรืออะโรวาน่า
      ปลาอะราไพม่า จัดเป็นยักษ์ใหญ่ของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำของโลก และสำหรับนักเลี้ยงปลาทุกคน มันถูกจัดให้เป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถโตได้เร็วมาก เป็นปลาเนื้อดี กินอร่อย ของชาวบ้านในประเทศบราซิล เปรู และโคลัมเบีย ปลาอะราไพม่า เจริญเติบโตได้รวดเร็วที่สุดในบรรดาปลาอะโรวาน่าทั้งหมด
      ปลาอะราไพม่า เป็นปลาอะโรวาน่าอีกชนิดหนึ่งที่พบอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แถบลุ่มน้ำอะเมซอน แม่น้ำโอริโนโค ประเทศบราซิล เปรูและโคลัมเบีย ปลาชนิดนี้จัดว่าเป็นปลาในตระมึงลอะโรวาน่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ขนาดโตเต็มที่มีความยาวถึง 4.5 เมตร น้ำหนักราว 400 กิโลกรัม ซึ่งปลาชนิดนี้รู้จักกันดีในหมู่ชาวพื้นเมืองแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ซึ่งคนพื้นเมืองนิยมบริโภคปลาชนิดนี้ เช่นเดียวกับการนิยมบริโภคปลาช่อนในบ้านเรา ปลาอะราไพม่า เป็นปลาที่มีรูปร่างผิดแผกแตกต่างไปจากปลาอะโรวาน่าชนิดอื่นๆ โดยสิ้นเชิงจนแทบไม่น่าเชื่อว่าปลาชนิดนี้จะถูกจัดรวมไว้ในตระมึงลเดียวกันในปลาอะโรวาน่าด้วยซ้ำ เพราะปลาชนิดนี้ มีลำตัวค่อนข้างกลมและเรียวยาว ไม่แบนข้างมากเหมือนปลาอะโรวาน่า โดยทั่วไปลักษณะ รูปร่างของปลาชนิดนี้ จะมีลักษณะคล้ายปลาช่อนของบ้านเรามาก เพียงแต่มีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าและ เกล็ดขนาดใหญ่กว่ามากๆ รอบตัวของมันปกคลุมด้วยเกล็ดสีเขียวเหลือบขนาดใหญ่ ท้องเป็นสีขาว โคนหางมีเกล็ด ส่วนหัวมีลักษณะแข็ง  ส่วนลำตัวด้านท้ายมีลักษณะแบนกว้าง ในขณะที่ปลายังเล็ก พื้นลำตัวจะมีสีเขียวเข้มลำตัว ส่วนที่ค่อนไปทางหางจะเป็นสีดำ เมื่อปลาตัวโตขึ้น บริเวณลำตัว และส่วนที่ค่อนไปทางหาง ครีบและหางจะปรากฏสีชมพูปนแดง หรือสีบานเย็นประแต้ม กระจายอยู่ทั่วไปแลดูสวยงามมาก คนไทยส่วนใหญ่ นิยมเรียกว่า กุหลาบไฟ


การขยายพันธุ์
      ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่า และมีสีสันสดใสกว่าตัวเมีย อะราไพม่ามีอยู่ 2 สายพันธุ์ใหญ่ๆ คือ สีเขียวและสีแดง ที่เรียกกันว่ากุหลาบไฟ การขยายพันธุ์ ที่ทำกันอยู่ในขณะนี้ คือ การเลี้ยงตามธรรมชาติ แล้วปล่อยให้จับคู่ผสมพันธุ์กันเอง ปลาจะจับคู่ผสมพันธุ์กันเอง ปลาจะจับคู่ผสมพันธุ์กันประมาณ 1 เดือน และจะไปตีตลิ่ง เพื่อที่จะใช้ทำรังและจะคลุกคลีกันอยู่ในนั้น ปลาอะราไพม่า จะวางไข่ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม แม่ปลา 1 ตัว(อายุ 4-5 ปี) สามารถวางไข่ได้ถึง 180,000 ฟอง ไข่ของปลาชนิดนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ราว 1/8-1/4 นิ้ว การวางไข่ปลา 1 ตัว จะวางไข่ได้ประมาณ 2-3 ครั้ง จัดได้ว่าปลาอะราไพม่านอกจากจะเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วแล้วยังเป็นปลาที่มีอัตราการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วอีกด้วย
อาหาร
การให้อาหาร ถ้ายังเป็นลูกปลาเล็กๆ ก็จะให้กินไรแดง และไข่แดงปั่น ส่วนปลาตัวโตจะให้กินปลาและอาหารสดเป็นหลัก บางฟาร์มอาจจะเลี้ยงปลานิลไว้ในบ่อ เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่ให้ผลผลิดเร็ว ปลา อะราไพม่าก็สามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้เช่นกัน (ในกรณีที่เลี้ยงในบ่อดิน)


      การตลาด
      ผู้ผลิตปลาส่วนใหญ่จะผลิตลูกปลาแล้วส่งไปขายยังต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย ส่วนในตลาดในประเทศ ตอนนี้มีผู้เพาะพันธ์ปลาชนิดนี้ได้หลายราย เช่น ที่โคราช จันทบุรี และระยอง ทำให้ตลาดในบ้านค่อนข้างเต็มราคาก็ถูกลง อะราไพม่า ขนาดความยาว 70 ซม. ราคา ประมาณ 9,500 บาท


ที่มาจาก https://youtu.be/QoXi-bMeZ9A

เอกสารอ้างอิง

   จี้เส็ง  แซ่จิว  มติชนเทคโนโลยีชาวบ้าน  ปีที่ 10 ฉบับที่ 187  หน้า 76-77 พ.ศ. 2514
   นิตยสาร  Fish Zon  ปีที่ 4 ฉบับที่ 41 หน้า 68  พ.ศ. 2546
PET  MAG นิตยสารสัตว์เลี้ยง ปีที่ 5 ฉบับที่ 56 หน้า 160-163 พ.ศ. 2547

แมวไทยขาวมณี

มหัศจรรย์แมวนัยน์ตาสองสี 

มหัศจรรย์แมวนัยน์ตาสองสี ที่อุทยานแมวไทยโบราณ

สัตว์สี่ขาตัวนุ่มนิ่มที่ชอบร้องเหมียวๆ กับคนไทยนั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมานานแล้ว โดยเรื่องราวเกี่ยวกับแมวก็ได้มีบันทึกไว้ในสมุดข่อยโบราณว่ามีแมวประเภทใด บ้างเป็นแมวมงคล และแมวประเภทใดบ้างเป็นแมวอัปมงคล แสดงว่าแมวกับคนไทยเรานั้นผูกพันกันมายาวนานจริงๆ  แมวขาวมณี หรือขาวปลอด นัยน์ตาสองสี แห่งอุทยานแมวไทยโบราณ

ที่อุทยานแมวไทยโบราณนี้ เขามีแมวน่ารักๆ อยู่หลายตัว ที่ไม่ธรรมดาก็คือแมวเหล่านี้ล้วนแต่เป็นแมวขาวมณี แมวไทยโบราณสีขาวสะอาดทั้งตัว แถมยังพิเศษตรงที่นัยน์ตาทั้งสองข้างยังมีสีแตกต่างกันอีกด้วย ดังนั้นก็เลยพลาดไม่ได้ที่จะมาชมแมวเหมียวเหล่านี้ให้ถึงที่

มหัศจรรย์แมวนัยน์ตาสองสี ที่อุทยานแมวไทยโบราณ

แมวขาวมณีหรือที่เรียกว่าขาวปลอดนั้น เป็นแมวไทยที่ไม่ได้มีชื่ออยู่ในสมุดข่อยโบราณ เพราะเพิ่งจะเป็นที่รู้จักก็กันเมื่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมานี้เอง แต่ก็ถือว่าเป็นแมวไทยโบราณหนึ่งในห้าพันธุ์ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งก็ได้แก่ แมววิเชียรมาศ แมวสีสวาด แมวศุภลักษณ์ แมวโกญจา และแมวขาวมณี

เจ้า แมวขาวมณีนี้มีลักษณะเด่นก็คือจะมีขนสั้นสีขาวตลอดหัวจดหาง ไม่มีสีอื่นมาแซมเลย และหากเป็นสายพันธุ์แท้ดวงตาทั้งสองข้างก็จะมีสีที่แตกต่างกัน เช่นข้างหนึ่งเป็นสีเหลือง หรือบางตัวก็อาจเป็นสีน้ำตาล และอีกข้างหนึ่งเป็นสีฟ้าหรือสีขาว สวยงามมาก

มหัศจรรย์แมวนัยน์ตาสองสี ที่อุทยานแมวไทยโบราณ

และสำหรับแมวขาวมณีนี้ ถือว่าเป็นแมวทรงเลี้ยงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดและทรงหวงมากๆ พระองค์ทรงมอบหน้าที่ให้ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์กรมหลวงชุมพรเขต อุดมศักดิ์ พระราชโอรสเป็นผู้ดูแลและขยายพันธุ์ หน้าที่นี้สืบทอดจนมาถึงพระธิดาของพระองค์ คือหม่อมเจ้าหญิงเริงจิตรแจรงอาภากร

ก่อนที่แมวขาวมณีที่เหลืออยู่ ทั้งหมด 18 ตัวจะตกมาอยู่ในความดูแลของ นำดี วิตตะ เด็กชายที่หม่อมเจ้าหญิงได้อุปการะเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก และก็ได้ดูแลแมวขาวมณีเหล่านี้มาตลอด จนกลายมาเป็นผู้ก่อตั้งอุทยานแมวไทยโบราณ (นัยน์ตาสองสี) ที่ฉันได้มาชมในวันนี้ ดังนั้น แมวขาวมณีในอุทยานแมวฯ แห่งนี้จึงเป็นแมวที่สืบเชื้อสายมาจากแมวทรงเลี้ยงของรัชกาลที่ 5 คุณนำดีจึงเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี และไม่เคยขายเจ้าขาวมณีพันธุ์แท้เหล่านี้เลยสักตัว

มหัศจรรย์แมวนัยน์ตาสองสี ที่อุทยานแมวไทยโบราณ
อุทยานแมวไทย โบราณริมคลองทวีวัฒนาในวันธรรมดาที่จะเข้าไปชมกลางวันธรรมดาจะเงียบเชียบไร้ ผู้คน แต่ก็ยังได้ยินเสียงแมวดังแง้วๆ แว่วๆ อยู่ด้านบนบ้านหลังใหญ่ใต้ถุนสูง เมื่อขึ้นไปด้านบน จ่ายเงินค่าเข้าชมและช่วยค่าอาหารแมวไป 50 บาท แล้วก็ได้พบกับบรรดาเหมียวๆ อ้วนท้วนสีขาวสะอาด นัยน์ตาสองสีที่ชื่อพันธุ์ขาวมณีเหล่านั้นอยู่ภายในห้องกว้างค่อนข้างโล่ง ที่มีกรงแมวขนาดไม่ใหญ่นักวางเรียงกันอยู่ 3-4 แถว และในแต่ละกรงก็มีแมวขาวมณีอยู่กรงละหนึ่งตัว นับรวมแล้วก็ได้ 14 ตัวพอดี
มหัศจรรย์แมวนัยน์ตาสองสี ที่อุทยานแมวไทยโบราณ
ที่อุทยานแมวโบราณนี้มีแมวขาวมณีอยู่ทั้งหมด 44 ตัว แต่เอามาจัดแสดงไว้เพียง 14 ตัว โดยในแต่ละวันก็จะสลับกันออกมาโชว์ตัว ตัวไหนโชว์อยู่นานแล้วก็จะเข้าห้องไปพัก ปล่อยให้เพื่อนแมวตัวอื่นๆ ได้ออกมารับแขกบ้าง

เมื่อก่อนนี้ ก่อนที่อุทยานแมวโบราณจะย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณปัจจุบันนั้น ก็ยังอนุญาตให้นักท่องเที่ยวได้อุ้มได้กอด แต่ปรากฏว่า แมวเหล่านั้นเฉามือคน แถมบางตัวยังติดโรคจากคนโดยการเลียหรือสัมผัสจนตายไปหลายตัว ในปัจจุบันก็เลยทำกรงไว้ให้แมวแต่ละตัวได้อยู่กัน
มหัศจรรย์แมวนัยน์ตาสองสี ที่อุทยานแมวไทยโบราณ

หลังจากที่อุทยานแมวฯ ปิดให้บริการในแต่ละวันแล้ว ประมาณห้าโมงเย็น แมวเหล่านี้ก็จะได้ไปวิ่งเล่นในสนามหลังบ้าน วิ่งไล่กันหรือปีนป่ายต้นไม้ไปตามเรื่อง แมวที่นี่จึงมีสุขภาพดีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

ด้วยความที่แมวเหมียว ขาวมณีเหล่านี้เป็นแมวที่สืบเชื้อสายมาจากแมวของรัชกาล ที่ 5 คุณนำดี ผู้เป็นเจ้าของจึงตั้งชื่อว่า "เจ้า" นำหน้าทุกตัว ทั้งเจ้าฟ้าเงินฟ้าทอง เจ้าเปรียว และอีกมากมายหลายเจ้า อย่างที่ฉันบอกไปแล้วว่าบรรพบุรุษของแมวเหล่านี้เคยเป็นแมวของพระมหา กษัตริย์ และไม่มีการขายแมวขาวมณีสายพันธุ์แท้ คุณนำดีผู้ก่อตั้งอุทยานแมวฯ จึงถวายแมวเหล่านี้ให้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ก็โปรดให้แมวเหล่านี้อยู่ที่อุทยานแมวฯ เพื่อให้ประชาชนได้ชมกันต่อไป

        นอกจากจะได้มารู้จักกับแมวขาวมณีและได้มาชมแมวเหมียวที่แสนจะน่ารักแล้ว การที่ได้มาเยี่ยมชมอุทยานแมวฯ ก็ทำให้รู้สึกว่า น่าดีใจที่แมวพันธุ์ไทยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นของเรายังมีผู้ที่ตั้งใจ อนุรักษ์ไว้ เพราะฉะนั้นขอเชิญชวนบรรดาคนรักแมวทั้งหลายให้แวะมาเยี่ยมเยียนเหมียวๆ เหล่านี้กันบ้าง รับรองว่าต้องหลงเสน่ห์แมวขาวมณีแน่นอน
มหัศจรรย์แมวนัยน์ตาสองสี ที่อุทยานแมวไทยโบราณ
อุทยานแมวไทยโบราณ (นัยน์ตาสองสี) ตั้งอยู่ที่ 103 หมู่ที่ 10 ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 เปิดบริการ 10.00-17.00 น. ทุกวัน ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-9765-6697
     
       การเดินทาง จากสายใต้ใหม่ขับรถมาทางถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี มาจนถึงพุทธมณฑลสาย 4 แล้วให้ขับไปทางมหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา จากนั้นให้กลับรถเข้าสู่ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรีอีกครั้ง (ฝั่งที่มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ) แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนทวีวัฒนา (ถนนเลียบคลองทวีวัฒนา) มาอีกประมาณ 400 เมตร อุทยานแมวโบราณจะอยู่ทางขวามือริมคลองทวีวัฒนา สามารถจอดรถได้บริเวณด้านหน้า หรือหากมาทางรถประจำทาง มีสาย 124, 125, 515 หรือรถตู้ปรับอากาศ พาต้าปิ่นเกล้า-พุทธมณฑลสาย 4 ผ่าน


ที่มาจาก http://www.clipmass.com/story/11480

ที่มาของเนื้อหาในบทความจาก http://www.clipmass.com/story/11480