วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

อะราไพม่า สุดยอดปลาช่อนยักษ์ ลุ่มน้ำอเมซอน

อะราไพม่า สุดยอดปลาช่อนยักษ์ ลุ่มน้ำอเมซอน


 ข้อมูลเฉพาะตัว
   ชื่อ      : ปลาอะราไพม่า (Giant Arapaima or pirarucu หรือพิรารูคู)
   ชื่อวิทยาศาสตร์    : Arapaima gigas (Cuvier,1829)
   วงศ์      : Osteoglossidae
   ถิ่นกำเนิด      : ทวีปอเมริกาใต้แถบลุ่มน้ำอะเมซอน แม่น้ำโอริโนโค ประเทศบราซิล เปรูและโคลัมเบีย

      ปลาอะราไพม่า (Giant Arapaima or pirarucu) หรือ พิรารูคู Pirarucu (ชื่อพื้นเมืองของชาวบราซิล) และ PAICHE (ชื่อพื้นเมืองของชาวเปรู) ส่วนคนไทยรู้จักกันในนาม “ปลาช่อนอเมซอน” จัดเป็นปลาที่อยู่ในครอบครัวเดียวกับปลาตะพัดหรืออะโรวาน่า
      ปลาอะราไพม่า จัดเป็นยักษ์ใหญ่ของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำของโลก และสำหรับนักเลี้ยงปลาทุกคน มันถูกจัดให้เป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถโตได้เร็วมาก เป็นปลาเนื้อดี กินอร่อย ของชาวบ้านในประเทศบราซิล เปรู และโคลัมเบีย ปลาอะราไพม่า เจริญเติบโตได้รวดเร็วที่สุดในบรรดาปลาอะโรวาน่าทั้งหมด
      ปลาอะราไพม่า เป็นปลาอะโรวาน่าอีกชนิดหนึ่งที่พบอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แถบลุ่มน้ำอะเมซอน แม่น้ำโอริโนโค ประเทศบราซิล เปรูและโคลัมเบีย ปลาชนิดนี้จัดว่าเป็นปลาในตระมึงลอะโรวาน่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ขนาดโตเต็มที่มีความยาวถึง 4.5 เมตร น้ำหนักราว 400 กิโลกรัม ซึ่งปลาชนิดนี้รู้จักกันดีในหมู่ชาวพื้นเมืองแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ซึ่งคนพื้นเมืองนิยมบริโภคปลาชนิดนี้ เช่นเดียวกับการนิยมบริโภคปลาช่อนในบ้านเรา ปลาอะราไพม่า เป็นปลาที่มีรูปร่างผิดแผกแตกต่างไปจากปลาอะโรวาน่าชนิดอื่นๆ โดยสิ้นเชิงจนแทบไม่น่าเชื่อว่าปลาชนิดนี้จะถูกจัดรวมไว้ในตระมึงลเดียวกันในปลาอะโรวาน่าด้วยซ้ำ เพราะปลาชนิดนี้ มีลำตัวค่อนข้างกลมและเรียวยาว ไม่แบนข้างมากเหมือนปลาอะโรวาน่า โดยทั่วไปลักษณะ รูปร่างของปลาชนิดนี้ จะมีลักษณะคล้ายปลาช่อนของบ้านเรามาก เพียงแต่มีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าและ เกล็ดขนาดใหญ่กว่ามากๆ รอบตัวของมันปกคลุมด้วยเกล็ดสีเขียวเหลือบขนาดใหญ่ ท้องเป็นสีขาว โคนหางมีเกล็ด ส่วนหัวมีลักษณะแข็ง  ส่วนลำตัวด้านท้ายมีลักษณะแบนกว้าง ในขณะที่ปลายังเล็ก พื้นลำตัวจะมีสีเขียวเข้มลำตัว ส่วนที่ค่อนไปทางหางจะเป็นสีดำ เมื่อปลาตัวโตขึ้น บริเวณลำตัว และส่วนที่ค่อนไปทางหาง ครีบและหางจะปรากฏสีชมพูปนแดง หรือสีบานเย็นประแต้ม กระจายอยู่ทั่วไปแลดูสวยงามมาก คนไทยส่วนใหญ่ นิยมเรียกว่า กุหลาบไฟ


การขยายพันธุ์
      ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่า และมีสีสันสดใสกว่าตัวเมีย อะราไพม่ามีอยู่ 2 สายพันธุ์ใหญ่ๆ คือ สีเขียวและสีแดง ที่เรียกกันว่ากุหลาบไฟ การขยายพันธุ์ ที่ทำกันอยู่ในขณะนี้ คือ การเลี้ยงตามธรรมชาติ แล้วปล่อยให้จับคู่ผสมพันธุ์กันเอง ปลาจะจับคู่ผสมพันธุ์กันเอง ปลาจะจับคู่ผสมพันธุ์กันประมาณ 1 เดือน และจะไปตีตลิ่ง เพื่อที่จะใช้ทำรังและจะคลุกคลีกันอยู่ในนั้น ปลาอะราไพม่า จะวางไข่ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม แม่ปลา 1 ตัว(อายุ 4-5 ปี) สามารถวางไข่ได้ถึง 180,000 ฟอง ไข่ของปลาชนิดนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ราว 1/8-1/4 นิ้ว การวางไข่ปลา 1 ตัว จะวางไข่ได้ประมาณ 2-3 ครั้ง จัดได้ว่าปลาอะราไพม่านอกจากจะเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วแล้วยังเป็นปลาที่มีอัตราการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วอีกด้วย
อาหาร
การให้อาหาร ถ้ายังเป็นลูกปลาเล็กๆ ก็จะให้กินไรแดง และไข่แดงปั่น ส่วนปลาตัวโตจะให้กินปลาและอาหารสดเป็นหลัก บางฟาร์มอาจจะเลี้ยงปลานิลไว้ในบ่อ เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่ให้ผลผลิดเร็ว ปลา อะราไพม่าก็สามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้เช่นกัน (ในกรณีที่เลี้ยงในบ่อดิน)


      การตลาด
      ผู้ผลิตปลาส่วนใหญ่จะผลิตลูกปลาแล้วส่งไปขายยังต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย ส่วนในตลาดในประเทศ ตอนนี้มีผู้เพาะพันธ์ปลาชนิดนี้ได้หลายราย เช่น ที่โคราช จันทบุรี และระยอง ทำให้ตลาดในบ้านค่อนข้างเต็มราคาก็ถูกลง อะราไพม่า ขนาดความยาว 70 ซม. ราคา ประมาณ 9,500 บาท


ที่มาจาก https://youtu.be/QoXi-bMeZ9A

เอกสารอ้างอิง

   จี้เส็ง  แซ่จิว  มติชนเทคโนโลยีชาวบ้าน  ปีที่ 10 ฉบับที่ 187  หน้า 76-77 พ.ศ. 2514
   นิตยสาร  Fish Zon  ปีที่ 4 ฉบับที่ 41 หน้า 68  พ.ศ. 2546
PET  MAG นิตยสารสัตว์เลี้ยง ปีที่ 5 ฉบับที่ 56 หน้า 160-163 พ.ศ. 2547

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น